บันทึกสัปดาห์หนังสือ 2562
ในที่สุดก็เดินทางมาถึง "งานหนังสือ" ครั้งสุดท้ายที่ศูนย์สิริกิติ์ของจริงซะที จากนั้นผมคงไม่ได้ไปอีกนานหรืออาจจะไม่ได้ไปอีกเลย (ต่อไปแอบอยากให้มีงานหนังสือย่อย ๆ มาจัดแถวไอคอนสยามงี้ แต่ห้างนั่นเขาไม่จับกลุ่มคนรักหนังสือนี่หว่า😂) และไหน ๆ ก็เป็นครั้งปิดท้าย ตอนท้ายเลยจะสรุปวิวัฒนาการการไปงานหนังสือในช่วงชีวิตที่ผ่านมาให้อ่านด้วย
ปริมาณหนังสือครั้งนี้ก็จัดว่าเยอะกำลังดี และทำลายสถิติความเสียหายสูงสุดนับตั้งแต่ไปงานหนังสือมาได้เรียบร้อย เอาให้สมกับเป็นครั้งปิดท้าย😆
ครั้งนี้เตรียมการวางแผนลำดับเดินบูธไว้ โดยเรียงลำดับจากบูธที่ถ้าคนเยอะแล้วจะเลือกซื้อลำบากสุดไปหาง่ายสุด ดังนี้ Animag > Zenshu > Luckpim > พัก > NED > SIC > อื่น ๆ
Animag นี่คราวก่อนเจอการต่อแถวแบบสุดบรรยาย และพอเข้าไปแล้วก็ต้องเดินเบียด ๆ เวลาเลือกอีก ต่างจาก Zenshu ที่เลือกขณะต่อแถวได้เลย ดังนั้นรีบไป Animag ก่อนเป็นดีที่สุด😠
พูดถึงวิวัฒนาการของบูธ Animag ยุคแรก ๆ ก็จะมีนิตยสาร Animag กับของสะสมจากการ์ตูนมาขาย และผมไปซื้อนิตยสาร Animag กลับมาทุกครั้ง ต่อมาก็เริ่มเอาหนังสือจาก VBK มาขาย ตามด้วย DVD โคนัน (DVD Anime แผ่นแรกของผมมาจากบูธ Animag นี่แหละ) สมัยนั้นไปทีไรทั้งบูธจะมีผู้ชายหุ่นท้วม ๆ หน้าเดิม ๆ นั่งขายอยู่คนเดียว ก่อนที่ยุคหลัง ๆ จะมีพนักงานขายเป็นเรื่องเป็นราว
มันคือแฟ้มพลาสติกใส ที่จะให้เลือก 2 ลายคือลายนี้กับ SAO Progressive ด้วยเหตุที่ว่าลาย SAO นี่มันก็ภาพเดียวกับปกมังงะ SAO Progressive เล่ม 2 นั่นแหละ เลยเลือกลายเรื่องนี้แทน (ชื่อเรื่องอะไรนะ จำได้แต่นางเอกชื่อคาโต้ 😅)
แล้วก็พบว่าอีกด้านมันมีอีกภาพด้วย.... ซึ่งก็ไม่รู้ของ SAO เป็นภาพไหน แต่ที่แน่ ๆ หลังจากผมกลับมาถึงบ้าน ทางเพจ Zenshu ก็แจ้งว่าลาย SAO หมดไปแล้วเมื่อวาน😅
พูดถึงวิวัฒนาการของบูธ Zenshu ก็คงต้องบอกว่าจำได้ตั้งแต่ยุคที่เริ่มเอา SAO มาขายเท่านั้น คือตอนที่ไลท์โนเวลเล่ม 1 ออก ก็เกิดปรากฏการณ์ต่อแถวยาวเฟื้อยในงานเพื่อโปสเตอร์จำนวนจำกัด (ซึ่งตอนหลังโปสเตอร์นี่ก็แถมมากับนิตยสาร Zenshu แต่เป็นแบบพับนะ ส่วนที่งานจะเป็นแบบม้วน) และถึงโปสเตอร์จะหมดลง แต่การต่อแถวเลือกซื้อก็ยังดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน บวกกับการที่ทางเพจชอบแจ้งว่าหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้หมดเรื่อย ๆ ทำให้รู้สึกว่าการไปซื้อหนังสือค่ายนี้ในงานนี่อาจจะไม่คุ้ม ไหนจะต้องต่อแถว ไหนจะต้องลุ้นของหมด ทำให้ยุคนึงผมตัดสินใจเลิกไปงานหนังสือนั่นแหละ (ที่ไปอีกครั้งก็เพื่อตามเก็บ Eyeshield ที่ NED กำลังโละให้ครบ แต่สุดท้ายก็ไม่ครบ😭)
แล้วก็ซื้อปกพลาสติกใส (แบบถุงใส่แกง) มาอีก จริง ๆ ที่ซื้อมาคราวก่อนก็ยังไม่ได้ลองเลยนะว่าใส่แล้วมันเวิร์คมั้ย😅 เอาจริง ๆ อยากซื้อปกผ้าที่ไว้ใส่เฉพาะตอนอ่านมากกว่า แต่รู้สึกมันแพงไปหน่อย
วิวัฒนาการของบูธ Luckpim นั้น ช่วงแรก ๆ รู้สึกจะไปอยู่แถวโซน W (คืออยู่รอบ ๆ ข้างนอกโซนเพลนนารี่อีกที) เป็นบูธเล็ก ๆ ขนาด 1 บล็อค มีหนังสือขายไม่เยอะ และดูเป็นแนวเฉพาะทางมาก ๆ คนก็เข้ามาดูไม่ค่อยเยอะด้วยมั้ง เวลาผ่านไปก็เป็นบูธการ์ตูนที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ คนแน่นตลอดแบบในปัจจุบัน
วิวัฒนาการของบูธ VBK นี่ก็.... แต่ก่อนไม่ยอมมาเปิดบูธในงานครับ แต่มีฝากมาขายกับบูธอื่นบ้าง (เช่น Animag ในอดีต) หรือบางทีก็มีบูธร้านการ์ตูนมาเปิดแล้วขายแต่การ์ตูน VBK แทน เผลอ ๆ บูธปัจจุบันนี่ก็อาจจะยังเป็นแบบนั้นก็ได้ (เพราะตัวบูธกับคนขายนี่บรรยากาศร้านการ์ตูนสุด ๆ)
บูธ SIC ในความทรงจำก็ยังคงเหมือนปัจจุบันคือ ข้างหน้ามีการ์ตูนแพ็คชุดกองอยู่เยอะ ๆ เด่นเป็นสง่า จากบูธเล็กเป็นบูธใหญ่ก็ยังคงอยู่ในสภาพนี้มาเนิ่นนาน และเป็นบูธที่มาแวะทุกครั้งไม่เคยขาดทุกครั้งที่มางานหนังสือ (NED นี่ คราวที่แล้วไม่แวะไปครั้งนึง😆)
หลังจากสอยเล่มสุดท้ายนี่ ก็ออกมาจากงานราวเที่ยงครึ่ง หารู้ไม่ว่าอีก 30 นาทีต่อมา อีตาคนเขียนหนังสือเล่มนี้จะมาที่บูธพอดี 😅
ทิ้งท้าย.... ตอนเอาออกมาจัดกองถ่ายรูป ช็อคไปแวบนึงนึกว่าหยิบมาซ้ำ 2 เล่ม สันปกสีเหมือนกันเกิ๊น😅 (จริง ๆ ก็สีต่างกันพอสมควรนะ แต่มันแวบแรกไง)
การเดินทางและวางแผน
เอ็นทรี่นี้ผมเขียนวันที่ 4 เมษา แต่ไปจริง ๆ คือ 3 เมษาครับ ซึ่งนี่เป็นวันประจำในการไปสัปดาห์หนังสือของผมเลย จัดเป็นวันกลาง ๆ กำลังดีที่คนไม่เยอะเกินไป และหนังสือกับของแถมยังพอมีอยู่บ้าง แต่คราวนี้มีอุปสรรคนิดหน่อยคือ เป็นวันที่ฝนดันตกตอนเช้าหลังจากไม่ได้ตกมานานนี่แหละ ฝั่งบ้านผมไม่ตกนะไปตกฝั่งโน้น ทำให้ฝั่งโน้นรถติดพอสมควร (บวกกับแถวศูนย์ฯ เขากำลังสร้างทางรถไฟด้วย) ซ้ำตอนออกจากซอยยังมีรถพ่วงใหญ่มากสวนทางมาทำให้รถในซอยออกไม่ได้ร่วม 10 นาที ผลคือไปถึงสายหน่อยตอน 10 โมง 29 นาทีครั้งนี้เตรียมการวางแผนลำดับเดินบูธไว้ โดยเรียงลำดับจากบูธที่ถ้าคนเยอะแล้วจะเลือกซื้อลำบากสุดไปหาง่ายสุด ดังนี้ Animag > Zenshu > Luckpim > พัก > NED > SIC > อื่น ๆ
Animag นี่คราวก่อนเจอการต่อแถวแบบสุดบรรยาย และพอเข้าไปแล้วก็ต้องเดินเบียด ๆ เวลาเลือกอีก ต่างจาก Zenshu ที่เลือกขณะต่อแถวได้เลย ดังนั้นรีบไป Animag ก่อนเป็นดีที่สุด😠
บูธ Animag (M09 โซน C1)
ไปถึงก็ต้องผิดคาด เพราะไม่มีคนเลย เดินเลือกโปร่งโล่งสบายทีเดียว น่าจะเพราะรถติดทำให้คนมาถึงกันช้า ก็เลือกซื้อไป- ไลท์โนเวล ขอให้โชคดีมีชัย ในโลกแฟนตาซี! เล่ม 11 - 145 บาท
- ไลท์โนเวล ขอให้โชคดีมีชัย ในโลกแฟนตาซี! EXTRA ขอให้เจ้าโง่นั่นมีบทในโลกแฟนตาซี! เล่ม 1 - 145
- รวม 290 บาท
พูดถึงวิวัฒนาการของบูธ Animag ยุคแรก ๆ ก็จะมีนิตยสาร Animag กับของสะสมจากการ์ตูนมาขาย และผมไปซื้อนิตยสาร Animag กลับมาทุกครั้ง ต่อมาก็เริ่มเอาหนังสือจาก VBK มาขาย ตามด้วย DVD โคนัน (DVD Anime แผ่นแรกของผมมาจากบูธ Animag นี่แหละ) สมัยนั้นไปทีไรทั้งบูธจะมีผู้ชายหุ่นท้วม ๆ หน้าเดิม ๆ นั่งขายอยู่คนเดียว ก่อนที่ยุคหลัง ๆ จะมีพนักงานขายเป็นเรื่องเป็นราว
บูธ Nation (M51 โซน C1)
ไหน ๆ ก็อยู่โซนเดียวกัน และคงใช้เวลาไม่มาก ผมเลยไปแวะบูธนี้เพื่อสะสางอะไรบางอย่างเป็นครั้งสุดท้าย พอไปถึงก็พบว่าบูธเปลี่ยนสภาพไปมาก ไม่มีอีกแล้วหนังสือแน่น ๆ แต่กลับมีพวกของสะสมจากการ์ตูนและตู้กาชาปองตั้งอยู่ด้วยซะงั้น หนังสือเก่าโละแหลกลดราคาอยู่ตรงขอบ ๆ ส่วนหนังสือใหม่ ๆ จะอยู่ที่แผงด้านหน้าแค่นิดเดียว และตรงกลางจะมีโต๊ะที่มีหนังสือใหม่เอี่ยมวางเรียงกันไว้ แต่เอ๊ะ นั่นมันหนังสือของ Dexpress กับ First Page Pro ทั้งนั้นนี่ 😲 ไม่แน่ว่าถ้า NED เลิกทำหนังสือแล้ว LC อาจจะโอนมาให้ค่ายพวกนี้ก็ได้นะ หรือเราจะคิดมากไปเอง😅- Sket Dance เล่ม 25 - 10 บาท
- Sket Dance เล่ม 32 - 10 บาท
- Onepunch-Man เล่ม 16 - 60 บาท
- รวม 80 บาท
บูธ Zenshu (O59 โซน C1)
ครั้งนี้ต้องย้ำว่าเขาย้ายไปอยู่โซน C1 นะครับ อยู่แบบสุดทางด้านโน้นเลย หลังจบจากบูธ Nation ผมลืมสนิทเลยตรงดิ่งไปโซน Ballroom เฉย ไปถึงเจอบูธ Luckpim ที่คนกำลังต่อแถวจ่ายเงินกันอยู่ เลยคิดว่าถ้ารอต่อแถวที่นี่ต้องไปต่อแถวที่นั่นนานแน่ ๆ เลยยอมดิ่งกลับไปโซน C1 อีกรอบก่อน (มันอยู่แทบจะคนละมุมเลยนะเฮ้ย) เดชะบุญ บูธยังคงโล่งไม่มีการต่อแถวใด ๆ เลือกซื้ออย่างสบาย สภาพบูธยังจัดเหมือนตอนอยู่ Ballroom เด๊ะ และยังคงมี DVD ของ Rose มาขายตามเคย (ไม่มีเรื่องใหม่ออกแล้วนะ เขาไปทำ BNK48 แทนแล้ว)- ไลท์โนเวล ผู้กล้าซึนซ่าส์ กับจอมมารสู้ชีวิต! เล่ม 10 - 160 บาท
- ไลท์โนเวล ACCEL WORLD เล่ม 18 - 155 บาท
- ไลท์โนเวล Sword Art Online เล่ม 18 Alicization Lasting - 185 บาท
- ไลท์โนเวล Sword Art Online เล่ม 19 Moon Cradle - 185 บาท
- ไลท์โนเวล Sword Art Online Progressive เล่ม 5 - 145 บาท
- การ์ตูน Sword Art Online Progressive เล่ม 2 - 60 บาท
- รวม 890 บาท
มันคือแฟ้มพลาสติกใส ที่จะให้เลือก 2 ลายคือลายนี้กับ SAO Progressive ด้วยเหตุที่ว่าลาย SAO นี่มันก็ภาพเดียวกับปกมังงะ SAO Progressive เล่ม 2 นั่นแหละ เลยเลือกลายเรื่องนี้แทน (ชื่อเรื่องอะไรนะ จำได้แต่นางเอกชื่อคาโต้ 😅)
แล้วก็พบว่าอีกด้านมันมีอีกภาพด้วย.... ซึ่งก็ไม่รู้ของ SAO เป็นภาพไหน แต่ที่แน่ ๆ หลังจากผมกลับมาถึงบ้าน ทางเพจ Zenshu ก็แจ้งว่าลาย SAO หมดไปแล้วเมื่อวาน😅
พูดถึงวิวัฒนาการของบูธ Zenshu ก็คงต้องบอกว่าจำได้ตั้งแต่ยุคที่เริ่มเอา SAO มาขายเท่านั้น คือตอนที่ไลท์โนเวลเล่ม 1 ออก ก็เกิดปรากฏการณ์ต่อแถวยาวเฟื้อยในงานเพื่อโปสเตอร์จำนวนจำกัด (ซึ่งตอนหลังโปสเตอร์นี่ก็แถมมากับนิตยสาร Zenshu แต่เป็นแบบพับนะ ส่วนที่งานจะเป็นแบบม้วน) และถึงโปสเตอร์จะหมดลง แต่การต่อแถวเลือกซื้อก็ยังดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน บวกกับการที่ทางเพจชอบแจ้งว่าหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้หมดเรื่อย ๆ ทำให้รู้สึกว่าการไปซื้อหนังสือค่ายนี้ในงานนี่อาจจะไม่คุ้ม ไหนจะต้องต่อแถว ไหนจะต้องลุ้นของหมด ทำให้ยุคนึงผมตัดสินใจเลิกไปงานหนังสือนั่นแหละ (ที่ไปอีกครั้งก็เพื่อตามเก็บ Eyeshield ที่ NED กำลังโละให้ครบ แต่สุดท้ายก็ไม่ครบ😭)
พักครึ่ง
ด้วยเหตุที่ไปบูธ M51 แล้วดันบึ่งไปโซน Ballroom พอรู้ว่าจำผิดก็วนมา O59 ซึ่งก็อยู่ใกล้ ๆ M51 ตะกี้นี่แหละ และบูธ Luckpim นี่ต้องรอคนซาสักพักถึงจะดี เลยรู้สึกว่าไปพักดีกว่า ก็ไปสบทบกับแม่ที่ศูนย์อาหาร เอาของไปฝากไว้ แล้วลุยต่อบูธ Luckpim (Y07 โซน Ballroom)
คราวนี้เหมือนจะเปลี่ยนด้าน แต่ก็ยังกว้างเท่าเดิมมั้ง ตอนไปถึงคนเดินเลือกเป็นหย่อม ๆ ไม่มีต่อแถวแบบตอนหลงมาตะกี้แล้ว- การ์ตูน องค์ชายจิตป่วนกับน้องเหมียวยิ้มยาก เล่ม 8 (จบ) - 55 บาท
- การ์ตูน Final Fantasy Lost Stranger เล่ม 2 - 70 บาท
- การ์ตูน สะดุดรักยัยแฟนเช่า เล่ม 3 - 70 บาท
- การ์ตูน โฉมงามพูดไม่เก่งกับผองเพื่อนไม่เต็มเต็ง เล่ม 5 - 70 บาท
- การ์ตูน บทผจญภัยจอมเวทสายบู๊ เล่ม 2 (เล่มจบ) - 60 บาท
- การ์ตูน เจ้าสาวผมเป็นแฝดห้า 1 ถึง 4 - 240 บาท (60 x 4)
- การ์ตูนอื่น ๆ 1 เล่ม - 70 บาท
- ปกไลท์โนเวล - 50 บาท
- รวม 685 บาท
แล้วก็ซื้อปกพลาสติกใส (แบบถุงใส่แกง) มาอีก จริง ๆ ที่ซื้อมาคราวก่อนก็ยังไม่ได้ลองเลยนะว่าใส่แล้วมันเวิร์คมั้ย😅 เอาจริง ๆ อยากซื้อปกผ้าที่ไว้ใส่เฉพาะตอนอ่านมากกว่า แต่รู้สึกมันแพงไปหน่อย
วิวัฒนาการของบูธ Luckpim นั้น ช่วงแรก ๆ รู้สึกจะไปอยู่แถวโซน W (คืออยู่รอบ ๆ ข้างนอกโซนเพลนนารี่อีกที) เป็นบูธเล็ก ๆ ขนาด 1 บล็อค มีหนังสือขายไม่เยอะ และดูเป็นแนวเฉพาะทางมาก ๆ คนก็เข้ามาดูไม่ค่อยเยอะด้วยมั้ง เวลาผ่านไปก็เป็นบูธการ์ตูนที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ คนแน่นตลอดแบบในปัจจุบัน
บูธ Vibulkij (Y14 โซน Ballroom)
ชอบบรรยากาศบูธ VBK นี่นะ มันเป็นชั้นวางหนังสือแบบตู้ไม้ ทำให้คิดถึงร้านการ์ตูนจริง ๆ (ซึ่งปัจจุบันแถวบ้านผมไม่มีแล้ว😢) แต่ครั้งนี้เอาการ์ตูนมาขายแค่เรื่องเด่น ๆ ที่เคยเป็นกระแสหลัก มีหนังสือใหม่ที่แผงข้างหน้านิดหน่อย และเล่มที่ผมต้องการส่วนใหญ่ไม่มี...- Card Captor Sakura ภาค Clear Card เล่ม 4 และ 5 - 110 บาท
วิวัฒนาการของบูธ VBK นี่ก็.... แต่ก่อนไม่ยอมมาเปิดบูธในงานครับ แต่มีฝากมาขายกับบูธอื่นบ้าง (เช่น Animag ในอดีต) หรือบางทีก็มีบูธร้านการ์ตูนมาเปิดแล้วขายแต่การ์ตูน VBK แทน เผลอ ๆ บูธปัจจุบันนี่ก็อาจจะยังเป็นแบบนั้นก็ได้ (เพราะตัวบูธกับคนขายนี่บรรยากาศร้านการ์ตูนสุด ๆ)
บูธ Siam Inter Comic (A03 โซน Plenary)
ก็ตามเคย บูธ SIC จะมี 2 ร่าง ร่างเต็มอยู่โซนนี้ ส่วนร่างแยกจะอยู่โซน Ballroom บูธ Y11 ซึ่งบูธแยกนี้จะมีหนังสือที่ร่างเต็มไม่มีขายด้วย ดังนั้นถ้าผ่านตรงไหนก่อนก็อย่าลืมแวะดูก่อน จะได้ไม่ต้องวนมาหาอีกรอบถ้าอีกบูธไม่มี- การ์ตูน EXEcutional เล่ม 38 - 65 บาท ลด 20%
- การ์ตูน My Hero Academia เล่ม 20 - 60 บาท ลด 20%
- การ์ตูน My Hero Academia เล่ม 21 - 60 บาท ลด 20%
- การ์ตูน เรื่องนี้ตำราไม่มีสอน เล่ม 9 - 60 บาท ลด 20%
- การ์ตูน เรลกัน แฟ้มลับคดีวิทยาฯ เล่ม 14 - 60 บาท ลด 20%
- การ์ตูน พันธสัญญาเนเวอร์แลนด์ เล่ม 11 - 60 บาท ลด 20%
- รวม 292 บาท
บูธ SIC ในความทรงจำก็ยังคงเหมือนปัจจุบันคือ ข้างหน้ามีการ์ตูนแพ็คชุดกองอยู่เยอะ ๆ เด่นเป็นสง่า จากบูธเล็กเป็นบูธใหญ่ก็ยังคงอยู่ในสภาพนี้มาเนิ่นนาน และเป็นบูธที่มาแวะทุกครั้งไม่เคยขาดทุกครั้งที่มางานหนังสือ (NED นี่ คราวที่แล้วไม่แวะไปครั้งนึง😆)
บูธ ชัชพลบุ็ค (W14 โซน Atrium)
ตามเคย เมื่อจบภารกิจการ์ตูนล้วน ๆ ไปแล้ว เราต้องมาหาสาระสักเล่มบังหน้า😆- เหตุผลของธรรมชาติ - 165 บาท
บูธ Nida Publishing (Y10 โซน Ballroom)
ในขณะที่ผมกำลังลังเลว่าจะซื้ออะไรปิดท้ายการมางานหนังสือครั้งสุดท้ายดี (ก่อนที่จะไม่ได้มาอีกหลายปี) กลับไปซื้อปกผ้าที่เล็งมานานที่ Luckpim ดีมั้ย หรือจะไปซื้อหนังสืออีกเล่มที่บูธชัชพลดี แล้วผมก็เหลือบไปเห็น....- เพราะชั้นกาวไงล่ะ - 200 บาท
หลังจากสอยเล่มสุดท้ายนี่ ก็ออกมาจากงานราวเที่ยงครึ่ง หารู้ไม่ว่าอีก 30 นาทีต่อมา อีตาคนเขียนหนังสือเล่มนี้จะมาที่บูธพอดี 😅
สรุปปิดท้าย
หลังจากพล่ามอะไรอย่างยาวนาน ในที่สุดก็มาถึงท้ายเอ็นทรี่แล้ว ก็ตามที่บอกไว้ข้างบนโน้น ว่าจะมาสรุปวิวัฒนาการการไปงานหนังสือที่ผ่านมาทั้งหมด อาจจะไม่น่าสนใจ แต่ผมก็อยากบันทึกไว้น่ะนะ😅- ผมได้ไปงานหนังสือครั้งแรกน่าจะช่วงเดือนตุลาคม 2548 แบบติดไปกับรถของโรงเรียนแม่ (ไปในฐานะงานห้องสมุด) ตอนนั้นไม่ได้วางแผนอะไรไว้ แล้วก็ไม่ค่อยได้ซื้ออะไรมั้ง ซื้อแค่การ์ตูนเดอะริงแพ็คชุดให้พี่ (บูธ SIC ไง เลยบอกว่ามาบูธนี้ทุกครั้ง)
- ต่อมาในเดือนเมษา 2549 ผมก็มาเดินงานหนังสือคนเดียว (เป็นครั้งแรกที่เริ่มมีบันทึกไว้ใน Exteen) เพื่อมาซื้อ โดราเอม่อน Bigbook Boxset (เป็นรุ่นแรกปกสี ๆ ปัจจุบันออกเวอร์ชั่น 2 ปกน้ำเงิน แล้วดันมีเล่มต่อจากเดิมอีก) จำได้ว่าหนักมาก เดินแบกขึ้นสะพานลอย ขึ้นรถเมล์ แล้วเดินเข้าซอยคนเดียว ทรมานสุด ๆ ครั้งนี้มีการมาตามเก็บ Animag เล่มเก่า ๆ ด้วย
- ตุลา 2549 ทำบ้านอยู่มั้งเลยไม่ได้ไป โดดมาเมษา 2550 เลย ครั้งนี้ก็เริ่มหาคนไปด้วย และปีนี้มีสะพานภูมิพลแล้ว (ตอนนั้นยังเรียกวงแหวนอุสาหกรรม) ทำให้การมางานหนังสือดูใกล้กว่าไปห้างแถวฝั่งธนอีก (บ้านผมอยู่ฝั่งธนนะ)
- งานหนังสือครั้งนั้นก็ไปสอยโดราเอม่อน Classic Boxset 45 เล่ม (เป็นเวอร์ชัน 2 ปกสีชมพู) มาจนได้ เป็นอันว่าความฝันที่จะได้เก็บโดราเอม่อนครบชุดเป็นจริงในที่สุด (ซะเมื่อไหร่ มันยังงอกมาใหม่ได้เรื่อย ๆ) มีการมาบูธ SIC แล้วผิดหวัง เพราะแทบไม่เอาการ์ตูนใหม่ ๆ มาขายเลย มาแต่แพ็คชุด
- ตุลา 2550 ยังคงวนเวียนกับการตามเก็บโดราเอม่อนเล่นอื่น ๆ และ Animag เล่มเก่า ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้คือ มีตู้รับแจ้งสิ่งพิมพ์ลามกอนาจารมาตั้งด้วย บูธ VBK (ที่จริง ๆ เป็นร้านหนังสือมาเปิด) เริ่มมาเปิดที่ครั้งนี้
- เมษา 2551 บูธเนชั่นเริ่มขยาย โดราเอม่อนยังคงมีเล่มใหม่ออก ผมเริ่มไปบูธบงกชเพื่อซื้อนิยายฮารุฮิเป็นประจำ (นิยายฮารุฮิแทบทุกเล่มจะมาซื้อในงานหมด เพราะถูกกว่าข้างนอกมาก)
- เมษา 2552 เริ่มไม่มีโดราเอม่อนให้ซื้อ รู้สึกว่า VBK จะมาเปิดบูธเองแล้ว และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมมาซื้อหนังสือที่บูธ Bliss ในตำนาน ค่ายที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของวงการไลท์โนเวลในประเทศนี้
- เมษา 2553 เริ่มเน้นไปที่การซื้อนิยายซะมาก ไม่มีการซื้อหนังสือคอมพ์เหลืออยู่แล้ว
- ตุลา 2553 ยังคงมาตามเก็บนิยายฮารุฮิ ไลท์โนเวล Bliss และกลับมาซื้อหนังสือคอมพ์แล้ว แต่เหมือนจะเป็นครั้งสุดท้ายของการซื้อหนังสือคอมพ์
- เมษา 2554 เหมือนเดิม นิยายฮารุฮิ ไลท์โนเวล Bliss และ Animag เล่มใหม่ (ตอนนั้น Animag ยังไม่ขายนิยาย)
- ตุลา 2554 มวลน้ำจากทางเหนือกำลังมาถึงกรุงเทพ แต่เราก็ยังไปงานหนังสือกัน ก็เน้นนิยายเหมือนครั้งตะกี้ แต่เริ่มซื้อหนังสือของชาว Exteen ช่วงนั้นมากขึ้น ไม่มี Animag ในบันทึกแล้ว
- เมษา 2555 ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของ Bliss ก่อนจะปิดตัวครับ และ Dex กับ Zenshu เริ่มมาแล้ว แต่ Zenshu ยังไม่เริ่มขายนิยายในงาน
- ตุลา 2555 ครั้งสุดท้ายก่อนจะเว้นยาว 5 ปีของผม เป็นการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ครั้งแรกของ Zenshu เพราะเริ่มมีไลท์โนเวลมาขาย มีของแถมจำกัดจำนวน และการต่อแถวยาวยืดอันเป็นการเปิดตำนานบทใหม่ บูธการ์ตูนต่าง ๆ เริ่มใหญ่ขึ้น Dex เริ่มขยายอาณาจักร (เริ่มเอากันพลากับฟิกเกอร์มาขายด้วยมั้ง) เริ่มจัดโซนเฉพาะสำหรับการ์ตูน (ตอนนั้นกางเต็นท์ขยายไปข้างหน้า ก่อนจะย้ายเข้ามาโซน Ballroom ในภายหลัง) งานหนังสือเริ่มดูกลายเป็นงานการ์ตูนจริง ๆ จัง ๆ ไปแล้ว
- หลังจากนั้นก็อ่านเอาในบล็อกนี้แหละ search คำว่า หนังสือ เดี๋ยวก็ขึ้นมาหมด😆
- เมื่อก่อนเป้าหมายหลัก ๆ ของสายการ์ตูนจะเป็นการ์ตูนแพ็คชุดลดราคา จนต่อมาเริ่มเปลี่ยนเป็นนิยาย/ไลท์โนเวล และมาเพื่อของแถมของโปรโมชั่นมากขึ้น (หลัง ๆ นี่ผมก็ไม่ได้ซื้อการ์ตูนแพ็คชุดแล้ว)
- ยุคที่หนังสือคอมพ์ยังรุ่งเรือง ผมก็มักจะมาซื้อหนังสือคอมพ์ทุกครั้ง เพราะปกติมันแพง แต่ในงานถูกมาก บางเล่มหาไม่ได้แล้วตามร้านทั่วไป จำได้ว่ายุคนึง Future Gamer เคยมาเปิดบูธ ขายนิตยสารเล่มเก่า ๆ และเอาเกม PC มาขายด้วย
- หมดยุคคอมพ์ ก็เป็นยุคของหนังสือจากชาว Exteen จำได้ว่าซื้อของหลายคนมาก ยกเว้นของคุณแชมป์ หมีเขี่ย (ตอนนี้เป็นแชมป์ แมวเย้ ไปแล้วสินะ😅) ที่ผมไปซื้อเอานอกงานทุกที
- มาถึงปัจจุบันนี้ก็เริ่มจะซื้อหนังสือที่มาจากเพจต่าง ๆ แทน (ซึ่งหลายเพจก็มีที่มาจาก Exteen) แต่หลัก ๆ จะซื้อนอกงานมากกว่า เพราะพวกนี้ราคาจะแรงพอสมควร (เป็นราคาแห่งความชื่นชมน่ะนะ😆) มันเบียดงบที่มีจำกัดน่ะ (ข้างนอกเจอ มีตังค์เหลือก็ซื้อเลย ไม่ต้องคิดมาก)
- สมัยก่อนสำนักพิมพ์ต่าง ๆ จะยังไม่ค่อยใช้โซเชี่ยลกัน ข้อมูลโปรโมชั่นต่าง ๆ ก็จะมาในรูปใบแทรกตามนิตยสาร หรือการ์ตูนที่ออกช่วงนั้น ๆ มีค่าย Bliss ที่ใช้วิธีให้ลงทะเบียนรับจดหมายข่าว ซึ่งเราจะสามารถเอาจดหมายข่าวนั่นมารับส่วนลดได้ด้วย
- ต่อมาถึงจะเริ่มมีการโปรโมททางบล็อก และมีคนช่วยทำลายแทงผังบูธการ์ตูน รวบรวมข้อมูลโปรโมชั่นต่าง ๆ ให้หมดในกระทู้เดียวด้วย ทำให้สะดวกขึ้นเยอะมาก
- ช่วงแรก ๆ จากที่ไปโดยไม่วางแผนอะไร ผังบูธก็ไปขอในงาน ต่อมาเริ่มพิมพ์ลิสต์หนังสือที่จะซื้อและผังบูธมาเป็นลายแทง เพื่อให้ไปซื้อได้เร็วขึ้นไม่มัวแต่หา (คนเริ่มไปเยอะ ต้องแข่งกับเวลา) เริ่มใช้เครื่องคิดเลขในมือถือ (ไม่ใช่สมาร์ทโฟน) ช่วยคำนวณงบที่เหลือ พอยุคต่อมาเริ่มเอาผังบูธและลิสต์หนังสือใส่ OneNote ใส่ Google Keep จนมาครั้งล่าสุดนี่ก็ใช้ Google ชีต ช่วยคำนวณงบแล้ว
กลับบ้าน
ก็จบไปแล้วกับการไปงานหนังสือที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ครั้งสุดท้าย (ก่อนจะไม่ได้ไปอีกหลายปี) เอาจริง ๆ ปิดปรับปรุง 3 ปีก็ไม่นานเท่าไหร่นะ 5 ปีก็เคยเว้นวรรคมาแล้ว การย้ายไป Impact นี่ก็น่าติดตามเหมือนกันว่า สนพ. ไหนจะไปบ้าง และจะยังขายดีเท่าที่เดิมมั้ย ที่แน่ ๆ ผมว่าบริการส่งหนังสือในงานถึงบ้านแบบที่ไปรษณีย์ไทยและ Kerry ทำอยู่น่าจะได้รับความนิยมกว่าเดิมแหละ เพราะตรงนั้นการแบกหนังสือกลับมาโดยไม่มีรถส่วนตัวนี่ลำบากมากจริง ๆทิ้งท้าย.... ตอนเอาออกมาจัดกองถ่ายรูป ช็อคไปแวบนึงนึกว่าหยิบมาซ้ำ 2 เล่ม สันปกสีเหมือนกันเกิ๊น😅 (จริง ๆ ก็สีต่างกันพอสมควรนะ แต่มันแวบแรกไง)
ความเสียหายคราวนี้ 2682 บาท
(ทำลายสถิติทุกครั้งที่ผ่านมา)
(ทำลายสถิติทุกครั้งที่ผ่านมา)
เหตุผลของธรรมชาติ ผมซื้อมาตั้งแต่ออกใหม่ ๆ ยังอ่านไม่จบเลย ทั้ง ๆ ที่ชอบ (อ้าว)
ตอบลบหนังสือของคนนี้ไปงานหนังสือซื้อทุกครั้ง แต่ผมก็เพิ่งอ่านจบเล่มเดียว 😅
ลบ